เกร็ดความรู้ในการทำธุรกิจ

เดี๋ยวขายได้ เดี๋ยวขายไม่ดี สต๊อกพอดีต้องทำอย่างไร..?

26 ตุลาคม 2558

ใครเคยคาดการณ์เตรียมวัตถุดิบ หรือสินค้าออกวางขายแล้วเจอสถานการณ์ไม่พอขายหรือ ขายไม่หมดบ้างมั้ยครับ โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารสด ที่จะได้รับผลกระทบเต็มๆ ถ้าของสดที่นำมาวางขายนั้นขายไม่หมด อีกทั้งถ้าธุรกิจของคุณนั้นอยู่ในขนาดเล็กๆ สายป่านที่มีก็มีอยู่จำกัดอีกด้วย แต่ก่อนที่ปัญหาเหล่านี้มันจะบานปลายใหญ่โต ผมจะขอใช้แนวคิดของโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ในขั้นตอนแรกนั่นคือ "รู้" มาสืบเสาะเพื่อเข้าถึงปัญหานี้ให้ถ่องแท้เสียก่อนครับ

ตัวอย่างธุรกิจในครั้งนี้ก็คือ ร้ายขายอาหารปลาสด ของป้าพิมม์

ป้าพิมพ์เป็นเจ้าของร้านขายปลาสดในตลาด ซึ่งยอดขายแต่ละวันเอาแน่ไม่ได้ บางวันลูกค้าเยอะ บางวันลูกค้าน้อย ปลาบางชนิด สั่งมามาก ก็ขายไม่หมด แต่ลูกค้ากลับมาขอซื้อปลาที่ขายหมดไปแล้ว เพราะสั่งมาน้อย พอเป็นแบบนี้บ่อยๆเข้าป้าพิมพ์ก็ไม่ค่อยมีกำไร หรือบางวันขาดทุนจนป้าก็จำเป็นต้องไปกู้ยืมเงินเพื่อมาหมุนให้ธุรกิจได้ไปต่อ บางวันขายดี กำไรที่ได้ก็ต้องคืนนำไปใช้หนี้เสียเกือบหมดนั่นเอง

คุณว่าป้าพิมพ์รับรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงของตัวเองหรือยังครับ? ไม่ว่าคำตอบของคุณคืออะไร ผมจะขออธิบายโดยใช้แนวคิด T-SI ในขั้นตอน "รู้" ให้ฟังว่า

ปัญหาของป้าพิมพ์เริ่มจากการสต๊อกปลาไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า เพราะ "ขาดการจัดทำสถิติ" ในเรื่องชนิดของปลา วันและช่วงเวลา ที่สินค้าขายดี-ขายไม่ดี ซึ่งสถิติเหล่านีจะช่วยให้ป้าพิมพ์บริหารปลาในร้านได้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้านั่นเองครับ