เปิดสถิติ Remote Work สุดปัง! ไม่ต้องนั่งออฟฟิศก็ Work ได้
อย่างที่รู้กันว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ Remote Work การทำงานทางไกล หรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ขยายตัวมากขึ้น และกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่คนยุคใหม่ใช้พิจารณาในการเลือกทำงานกับองค์กร โดยเว็บไซต์ Findstack ได้รวบรวมข้อมูลมาให้เห็นว่า ทำไม? Remote Work ถึงยังสำคัญ แถมยังครองใจเหล่ามนุษย์ทำงานได้อยู่หมัด
ให้สถิติเล่าเรื่อง...
- แม้จะมีเพียง 16% ของบริษัททั่วโลกที่ให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ 100% แต่คาดว่าตัวเลขนี้จะขยับเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
- ขณะที่หลายบริษัทเลือกทำงานแบบ Hybrid หรือผสมผสานระหว่างการเข้าออฟฟิศกับการทำงานจากที่ไหนก็ได้
โดยพนักงานประมาณ 62% ที่มีอายุระหว่าง 22-65 ปี บอกว่า พวกเขาทำงานจากนอกออฟฟิศบ้างเป็นครั้งคราว
- คาดว่า ในอีก 6 ปีข้างหน้า 73% ของทุกแผนก จะมีพนักงานที่ทำงานแบบ Remote Work
- ที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ 99% ของผู้คนจะเลือกทำงานแบบไม่เข้าออฟฟิศตลอดชีวิต แม้ว่าจะเป็นแค่งานพาร์ตไทม์ก็ตาม เพราะต้องการอิสระและความยืดหยุ่นในชีวิตที่มากขึ้นนั่นเอง
- โดยบริษัทขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะจ้างพนักงาน Full-time ที่ทำงานจากที่ไหนก็ได้มากกว่าถึง 2 เท่า
แล้วอะไร? ที่ทำให้คนติดใจ
- สิ่งที่ทำให้ Remote Work ติดอันดับ Top List ของคนทำงานก็คือ การได้ผลงานที่ดีขึ้น โดย 77% บอกว่า พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและบรรลุเป้าหมายมากขึ้นเมื่อ Work from Home
- โดย 75% เลือกที่จะไม่ทำงานที่ออฟฟิศ เพราะมีสิ่งรบกวนที่น้อยกว่า
- ยิ่งไปกว่านั้น การทำงานจากที่ไหนก็ได้อย่างน้อยเดือนละครั้งยังทำให้มีความสุขมากขึ้นและได้งานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นถึง 24% เป็นผลเนื่องมาจากการมี Work-life Balance ที่ดีขึ้น
องค์กรห้ามพลาด...
- นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า 44% ของบริษัทในโลกนั้นไม่อนุญาตให้พนักงานทำงานแบบ Remote Work
- หากคุณเป็นหนึ่งในนั้น ควรรู้ว่า 69% ของคน Millennials ยินยอมที่จะเสียผลประโยชน์บางอย่างในการทำงาน เพื่อให้มีการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
- อีกทั้ง 74% ของพนักงานยังบอกว่า ถ้าได้ทำงานแบบ Remote Work จะทำให้รู้สึกอยากลาออกจากบริษัทน้อยลง
- 64% ของผู้จัดหางานเสริมอีกว่า การมีนโยบาย Work from Home จะช่วยให้ได้คนเก่งเข้ามาร่วมงานกับบริษัทมากขึ้น
ดังนั้น เมื่อการทำงานที่ไหนก็ได้จากทุกมุมโลกยังคงดำเนินต่อไปก็ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องชั่งใจและชั่งน้ำหนักให้ดีว่า จะนำมาปรับใช้กับบริษัทและพนักงานของตัวเองได้อย่างไร เพื่อให้ทั้งเราและลูกน้องอยู่กันได้แบบ Win-Win