เกร็ดความรู้ในการทำธุรกิจ
พี่ (แปลน ครีเอชั่นส์) สอนน้อง … เริ่มต้นความสำเร็จจากคำว่า “ไม่”
17 มีนาคม 2565
บางครั้งคำว่า “ไม่” ก็เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จได้ เหมือนอย่างที่ โกสินทร์ วิระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปลน ครีเอชั่นส์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายของเล่นไม้ PlanToys ในจังหวัดตรัง ได้ให้ความสำคัญจนขึ้นแท่นเป็นแบรนด์ชั้นนำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งเคล็ดลับนั้นอยู่ที่
เรื่องเล็กๆ หรือการทำจนเคยชิน มักกลายเป็นต้นตอของปัญหาในการทำธุรกิจ เช่นเดียวกับที่ทางบริษัทเคยเจอกับการหาชิ้นส่วนประกอบของเล่นเล็กๆ ไม่เจอ จนต้องลุกขึ้นมาจัดการให้เป็นระบบ เก็บให้เป็นระเบียบ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการผลิต ลดเวลาในการทำงาน และทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
แม้การทำธุรกิจต้องมีการโฟกัส เหมือนที่ทาง PlanToys มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี แต่สำหรับผู้ที่สนใจอยากเข้าสู่วงการของเล่นและต้องการคว้าส่วนแบ่งทางธุรกิจนั้น ไม่ควรยึดติดอยู่กับความคิดที่ว่า ของเล่น = เด็ก เพราะในความเป็นจริงแล้ว โอกาสตลาดยังกว้างไปถึงกลุ่มคนชราและสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
สิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าได้อยู่เสมอคือ การติดตามเทรนด์ใหม่ๆ ให้ทัน รู้ว่าตลาดเขาทำอะไร คู่แข่งเขาไปถึงไหน รวมถึงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงทางด้านข้อกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น เรื่องของการใช้สารเคมีต้องห้ามในการผลิตของเล่น เป็นต้น
ทาง PlanToys มองหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ด้วยการเปิดประสบการณ์ในต่างแดน เช่น การเข้าร่วมงานแฟร์ต่างประเทศ รวมถึงใช้วิธีการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) แก่พนักงาน เพื่อให้เจองาน เพื่อน และสังคมใหม่ๆ ช่วยให้ทำงานได้แบบไม่จำเจและไม่หมดไฟ
ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจไหน สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้จักใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เหมาะสม พร้อมพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill) เช่น เรื่องของดิจิทัล AI และระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำธุรกิจ
Real Case
แปลน ครีเอชั่นส์ เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” และเรียนรู้การนำระบบ TPS (Toyota Production System) และการไคเซ็น (Kaizen) จนสร้างให้ธุรกิจเข้มแข็งและเติบโตมาได้จนถึงวันนี้ โดยเฉพาะการใช้ Visual Control หรือการควบคุมด้วยการมองเห็น เช่น ทำ List รายชื่อ Jig ให้หยิบง่าย ไม่ทับซ้อนกัน ซึ่งลดเวลาในการหยิบจาก 25 นาที/วัน เหลือ 24.2 นาที/วัน และลดค่าซ่อมแซมได้ 37,500 บาท/ปี
รวมถึงใส่เลขรันช่องเก็บของที่ชั้นวางให้เรียงตามลำดับ ทำป้าย Tag ติดตะกร้าชิ้นส่วนรอการผลิต และใช้บอร์ดแม่เหล็กควบคุมการส่งมอบสินค้าให้ใครเห็นก็สามารถเข้าใจได้ ส่งผลให้ระบบการผลิต จัดการสต็อกและส่งมอบสินค้าทำได้ง่ายขึ้น และลดจำนวนสินค้าคงคลังและต้นทุนในกระบวนการลงได้ถึง 18.81 ล้านบาท